วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

HK Mini … Round 2


เบรกจากความมันส์ของรุ่นใหญ่ มาเกาะกระแสความเร้าใจของสีสันแห่งการแข่งขันกันถึง 3 รุ่นซ้อน โดยเริ่มต้นกับศึก HK Mini ลำน้อยๆ ที่ยกขบวนกันมาวาดวดลายสไตล์การขับมันส์ๆ ให้ชมกัน โดยยังคงมีหมายเลข 55 Chan Kwok Hing เป็นผู้นำบนกริดสตาร์ท และออกขับเคี่ยวอย่างดุเดือดกับหมายเลข 49 Chak Wing Fai ที่ไล่ขึ้นมาจากอันดับ 5 แต่ท้ายที่สุดหมายเลข 55 ก็โชว์ฟอร์มเหนือกว่า และคว้าธงตาหมากรุกไปเป็นคันแรก
ข่าวรุ่น The Colorful of … Saturday Raceพรี วิว สนาม  Race2 SupercarThailand Championship 2012
POINTCHAMPIONSREGULATIONSDRIVERSNEWS

Super Club Racing Truck … Round 4

ต่อเนื่องอย่างรวดเร็วด้วยรุ่น Super Club Racing Truck ที่มี รถหมายเลข 89 พีระวัฒน์ ปาริยะชาติ ประจำตำแหน่งโพล โพสิชั่น ซึ่งทันทีที่ออกสตาร์ทก็ซัดยาวเต็มเหนี่ยวทันที โดยมีหมายเลข 42 ไล่มาติดๆ แต่จู่ก็แผ่วลงไป และกลายเป็นหมายเลข 4 เอกลักษณ์ เกิดโมลี สวนขึ้นมา แล้วก็ฉีกนำเป็นจ่าฝูงไปทันที โดยมีหมายเลข 19 บัญญัติ ใจยง อัดเต็มสปีดจนเกินลิมิต จนรถมีปัญหาเลยต้องปล่อย ตำแหน่งอันดับ 2 ไปให้กับหมายเลข 89 ในรอบสุดท้ายก่อนธง ตาหมากรุกโบกสะบัด ซึ่งเท่ากับว่า หมายเลข 4 เอกลักษณ์ เกิดโมลี ก็ยังคงครองตำแหน่งผู้ชนะไว้ได้อีกสนาม

Japan Retro & Euro Classic … Round 4

รุ่น Japan Retro & Euro Classic เตรียมเปิดศึกต่อทันที โดยมีหมายเลข 62 Mr. Gavin ประจำการในตำแหน่งโพล ทั้งยังออก สตาร์ทอย่างเหนือชั้น ฉายหนังม้วนเดียบกับเมื่อวาน เพราะนำยาวๆ ไปจนจบการแข่งขันอย่างสวยงาม

Lotus Cup Thailand … Round 4


สปอร์ตสัญชาติอังกฤษอย่าง Lotus จ่อคิวลงสนามอย่างพร้อมเพรียง โดยมีหมายเลข 11 ชินพล จงประเสริฐ เป็นจ่าฝูง และหมายเลข 5 ใยยธนา ทิมสุวรรณ อยู่ในอันดับที่ 2 ซึ่งออกตัวนำอย่างรวดเร็วเพราะ Jump Start แบบชัดเจน แต่ก็ไม่วายโดนหมายเลข 11 ชินพล ทวงตำแหน่งคืนมาจนได้ แถมยังโดนหมายเลข 88 เบียดขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในจังหวะที่ฉิวเฉียดจนต้องลุ้นกันทั้งสนาม
2 รอบสนามผ่านไป แจ็ม แลมวาร์ด หมายเลข 28 ที่ออกสตาร์ทจากกริดที่ 4 ก็ไล่แซงขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้สำเร็จ ไล่เต็มเหยียดกดดันอันดับที่ 1 รอบแล้ว รอบเล่า จ่อติดชนิดหายใจรดต้นคอทุกโค้งสนาม แถมอันดับที่ 3 หมายเลข 88 ณัฐพล ปัทมพงษ์ ก็ยังตามตูดไม่ยอมห่าง จน แจ็ค ถึงขั้นเพลี่ยงพล้ำโดนเสียบแซงแบบต่อหน้า ต่อตาอย่างสะใจ
แต่รอบสุดท้ายของการแข่งขันดุเหมือนจ่าฝูงหมายเลข 11 จะแบกรับความกดดันมากไป เพราะพลาดท่าไปลัดแทรก S2 จนเสียจังหวะ ทำให้หมายเลข 88 คว้าโอกาสขึ้นนำในโค้งสุดท้ายก่อนเข้าทางตรง โดยมีแจ็ค แลมวาร์ด หมายเลข 28 ตามมาติดๆ ออกโค้งมาเกือบเป็นแถวหน้ากระดาน 3 คัน เฉือนกันก่อนข้ามเส้นเล็กน้อย โดยมีอันดับ 1 เป็นหมายเลข 88 ณัฐพล ปัทมพงษ์ รับธงเป็นคันแรก ส่วนแจ็ค แลมวาร์ด ในตำแหน่งที่ 3 ก็เข้าเส้นอันดับ 2 ไปด้วยความโชคดีสุดๆ เช่นกัน ในขณะที่ จ่าฝูงหมายเลข 11 ชินพล ที่แม้จะเสียโอกาสแต่ก็ยังรับธงเป็นอันดับ 3
ข่าวรุ่น The Colorful of … Saturday Raceพรี วิว สนาม  Race2 SupercarThailand Championship 2012

TCSA … Round 2

BMW หมายเลข 9 และนักแข่งไทยหนึ่งเดียวในรุ่น ติณฑ์ ศรีตรัย เตรียมตอกย้ำ ชัยชนะอีกสนาม ด้วยตำแหน่งโพล โพสิชั่น ซึ่งเมื่อออกสตาร์ทก็โชว์ลีลาเร้าใจ แม้จะมี การสลับตำแหน่งของรถที่ทำการแข่งขันจบตามกติกาของรายการ TCSA จนต้องออก สตาร์ทในอันดับที่ 6 แต่ก็สามารถรวบทั้งหมด แล้วแซงขึ้นมาเป็นจ่าฝูงทิ้งคู่แข่งต่างชาติ ไว้เบื้องหลังได้อย่างหมดจดในชั่วอึดใจ
โดยในช่วงกลางการแข่งขันมีเหตุการณ์ลุ้นระทึกเมื่อหมายเลข 30 ตัดเข้าไลน์ไป เบียดหมายเลข 66 จนรถหมุนไปโหม่งกำแพงจนต้องออกจากการแข่งขันไป เช่นเดียวกับ หมายเลข 45 ที่ยัดสุดทางตรงหมดไมล์เลี้ยวซ้ายไม่เข้า งานนี้เลยเหมายางกองใหญ่ไปเต็มๆ ส่วน ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 9 นั้นฉายหนังซ้ำให้ผู้ชมทั่วสนามดู เพราะหวดกันยาวๆ เข้าไปรับธงตาหมากรุก และรับแชมป์ไปเป็นคันแรก

19/12/55 … Practice Race


ณ ริมหาดบางแสน แดนมนต์ขลัง ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นสังเวียนความมันส์ของชาวมอเตอร์สปอร์ต กับมหกรรมความเร็ว บางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล ได้เริ่มต้นขึ้นเป็นวันแรกกับการเปิดสนามให้ซ้อมกันฟรีๆ ตั้งแต่ 09.00 น. โดยมีรุ่น Super 1500 ลงหวดกันเป็นรุ่นแรกตามตาราง จากจำนวนทั้งหมด 35 คัน งานนี้ลงสนามกันเพียงครึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่น Junior ที่ดูจะเตรียมตัวมาพร้อมกว่า โดยเฉพาะ วิศรุต กมลรัตโนบล หมายเลข 8 ที่ทำเวลาซ้อมดีสุด 2:02.857 นาที
ต่อเนื่องด้วยรุ่น Super Production และรุ่น FF จากรายการ Super Club ร่วมลงซ้อมอย่างเมามันส์ งานนี้ บอย-ขจรศักดิ์ ร สงขลา หมายเลข 4 ยังโชว์ความเก๋าให้รุ่นน้องได้ฮือฮาด้วยเวลาซ้อม 2:07.409 นาที ส่วนรุ่นปิคอัพ SPTC-Super Pick  Up Thailand Championship แต่ซ้อมกันอย่างเรียบง่ายไม่หวือหวา พร้อมลงสนามกันกว่า 10 คัน โดยตัวเต็งอย่าง พีท ทองเจือ หมายเลข 17 จัดแบบเบาๆ เลยทำให้ เกียรติพงษ์ เธียรประยูร หมายเลข 3 คว้าเวลาซ้อมที่ดีที่สุดไป 2:05.959 นาที
มาที่รุ่นใหญ่อย่าง Super 2000 ขนาดรอบซ้อมยังยอมกันไม่ได้ ทำเวลาไล่บี้ขี่กันมาเป็นทิวแถวทั้ง 20 กว่าลำ ในขณะที่เวลาซ้อมดีสุดเป็นของ ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 91 ทำเวลาไว้ 1:52.663 นาที ในขณะที่รุ่น Super Car เรียกว่าฟาดฟันกันดุเดือดไม่น้อย บรรดาเทพลงสนามกันเกือบครบ จัดเต็มทุกความแรง โดยมี เต๊อะ-วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ หมายเลข 18 ยังคงแสดงความเหนือชั้นกับเวลาซ้อมดีที่สุด 1:45.905 นาที
เปิดคิวซ้อมให้ขบวนการ Toyota ยกทัพลงสนามติดๆ กันโดยผสมโรงรุ่น Yaris และ Lady ซ้อมพร้อมกัน ผลปรากฏว่า ไผ่ พาทิศ พิสิฐกุล หมายเลข 11 ทำเวลาดีสุด 2:12.493 นาที ส่วนรุ่น Vios จัดให้ด้วยฝีมือของ หมายเลข 91 ไชยรัตน์   หลวงหลาย ทำเวลาซ้อมไว้ที่2:17.438 นาที
วนกลับมาที่การซ้อมรอบ 2 ในช่วงเที่ยงแก่ๆ แต่ละรุ่นต่างก็เริ่มเข้าฟอร์ม และทำเวลาได้ดีขึ้นกว่าในช่วงเช้า เช่น รุ่น Super 1500 เป็นรุ่นแรก ซึ่งเจ้าของเวลาดีสุดในรอบเช้า วิศรุต กมลรัตโนบล หมายเลข 8 ก็ยังรักษามาตรฐานไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม แถมยังเร็วขึ้นเป็น 1:59.678 นาทีไล้เรียงลำดับมาที่รุ่น Super Production และ FF การซ้อมรอบ 2 บอย-ขจรศักดิ์ หมายเลข 4 ก็ยังคงแรงอย่างเหนือชั้นทำเวลาซ้อมเร็วขึ้นกว่าเดิมเป็น 2:06.867 นาที ในขณะที่รุ่น SPTC-Super Pick  Up Thailand Championship เกียรติพงษ์ เธียรประยูร หมายเลข 3 ก็ยังรักษาตำแหน่งหัวแถวไว้ได้เช่นกัน ด้วยเวลาเร็วขึ้นเป็น 2:03.954 นาที
ส่วนตัวแรงรุ่น Super 2000 ติณฑ์ ศรีตรัย เจ้าของตำแหน่งเวลาดีที่สุดในการซ้อมช่วงเช้า ถูกกระชากตกบัลลังค์ในรอบบ่ายด้วยฝีมือของ แบ็งค์- กันตศักดิ์ กุศิริ หมายเลข 34 ที่ลับฝีมือมาอย่างดี คว้าตำแหน่งหัวแถวในรอบว้อมไปด้วยเวลา 1:51.611 นาที และสำหรับรุ่น Super Car ที่พกพาความมันส์มาแบบไม่เป็นรองใคร โดย เต๊อะ-วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ หมายเลข 18 ที่หวดในการซ้อมได้เร็วขึ้นเป็น 1:44.654 นาที
ฝั่งทีมงาน Toyota ยังคงจัดทัพลงสนามเหมือนเดิม โดยรุ่น Yaris ซ้อมรวมกับรุ่น Lady ซึ่ง สุนิจ  ศรีแสนสุชาติ หมายเลข 44 ผงาดขึ้นมาทำเวลาดีที่สุด 2:12.295 นาที ส่วนรุ่น Vios เจ้าของเวลาดีที่สุดเปลี่ยนมือจากหมายเลข 91 มาเป็น ทันสิษฐ์ ศุจินธร หมายเลข 39 ขึ้นมาแทนด้วยเวลา 2:16.096 นาที 
ปิดท้ายวันซ้อมใหญ่ด้วยรุ่น Toyota Bangsaen Endurance ลงซ้อมกันเต็มเหนี่ยวเกือบ 30 คัน ทั้ง Division 1 และ 2 โดยมีทีมหมายเลข 4 สังกัด OMP Vattana Motorsport กระหน่ำกันทำเวลาซ้อมเร็วสุดเอาไว้ที่ 2:05.562 นาที

20/12/55 … Qualify Endurace & Practice Race


วันที่ 2 ของการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบนัดหยุดโลก บางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล เปิดเกมส์กระหึ่มริมหาดกันตั้งแต่เช้าเวลา 08.30 น. เริ่มต้นด้วยการจับเวลารอบคัดเลือกนั้นเริ่มต้นด้วยรายการอึด Toyota Bangsaen Endurance ศึกมันส์ๆ ของคนพันธ์อึด อีกหนึ่งการแข่งขันที่จะวัดความทรหดของนักแข่งแต่ละทีมที่สามารถมีได้ 2-3 คน ซึ่งจะหวดกันยาวๆ ทีเดียว 4 ชม. รวดในวันรุ่งขึ้น โดยผลัดกันซัดได้ไม่เกิน 45 นาที ศึกนี้จะจัดหนักพร้อมกันทั้ง Division 1 และ Division 2 เบ็ดเสร็จเป็นจำนวนรถกว่า 40 คัน จัดเกมส์มันส์ๆ ให้ชมกัน ซึ่งรถหมายเลข 9 จาก Division 1 ทำเวลาครองตำแหน่งโพล โพสิชั่น ไว้ที่ 2:02.355 นาที
พักยกการลุ้นผลขับเวลา มาชมการซ้อมมันส์ๆ ของ รุ่นที่เป็นสีสันการแข่งขันอย่าง Japan Retro และ Euro Classic ที่เกือบจะจบไปอย่างสบายๆ แต่แล้วในช่วงกลางการแข่งขันรถหมายเลข 52 เครื่องน็อคกลางอากาศจอดหลับอยู่ริมแทรค เลยต้องพักยาวๆ ไปจนหมดเวลาซ้อม โดยมีรถหมายเลข 26 ทำเวลาซ้อมดีสุด 2:05.069 นาที
รุ่น HK Mini พร้อมใจลงสนามกันเต็มอัตราศึก แถมยังสร้างความป่วนกันไปหลายคัน เพราะพวกเล่นลัดแทรกกันสนุกสนาน แต่โชคดีว่ายังเป็นแค่รอบซ้อม ซึ่งถ้าเป็นรอบจริงล่ะงานนี้มีมันส์ ส่วนเจ้าของสถิติเวลาดีที่สุดในการซ้อมตกเป็นของรถหมายเลข 55 ทำเวลาไว้ 2:13.027 นาทีปิดเกมส์ซ้อมช่วงเช้าด้วยรุ่น Racing Truck กระบะตัวแรงแบบไม่เกี่ยงยุคสมัย เพราะทั้งยุตใหม่ ยุคเก่า พร้อมนำเสนอความเร้าใจได้ตลอดเวลาที่ล้อแตะพื้นแทรค และท้ายที่สุดแล้วรถหมายเลข 66 ก็ทำเวลาซ้อมขึ้นเป็นหัวแถวด้วยเวลา 2:13.704 นาที

21/12/55 …Practice & Endurance Race


บางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล 2012  วันที่ 3 ปลุกความเร้าใจกันตั้งแต่เช้า 08.30 น. ด้วยการลงสนามซ้อมของบรรดาสปอร์ตคาร์ สัญชาติอังกฤษอย่าง Lotus ที่นักแข่งแต่ละคนก็พัฒนาฝีมือขึ้นมา เพื่อเปิดศึกใหญ่บนสนามที่เป็นตำนานแห่งนี้โดยเฉพาะ และเวลาดีที่สุดในการซ้อมของรุ่น Lotus Cup Thailand  ก็คือ หมายเลข 28 แจ็ค แลมวาร์ด ทำเวลาซ้อมดีที่สุดไว้ 2:11.742 นาที
ต่อเนื่องกันด้วยคิวซ้อมของรุ่น TCSA ที่ลงสนามกันเกือบจะครบทุกคัน เพราะไม่มีวี่แววของเจ้าบ้านอย่าง ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 9 เลยทำให้นักซิ่งจากต่างแดนซัดกันอย่างเมามันส์ ถึงขนาดหลุดแทรคเข้าไปปักกองยาง แล้วก็ชนกำแพงจนถึงขั้นต้องออกจากสนามไปเลยก็มีให้เห็นอย่างไม่ขาดสาย สุดท้ายหมดเวลา รถหมายเลข 91 CHEN jun-san ทำเวลาซ้อมเร็วสุดที่ 1:52.883 นาที

Toyota Bangsaen Endurance       

ช่วงเวลาราว 10.00 น. ของวันนี้ คือ จุดเริ่มต้นของความมันส์อีกหนึ่งสไตล์ ในรูปแบบ Endurance ที่ปล่อยให้หวดกันยาวๆ 4 ชม. รวด ของรถแข่งจำนวนกว่า 40 คัน ส่วนกฏกติกาการแข่งขันนั้นยังคงเหมือนปีที่ผ่านๆ มา เช่น นักแข่งแต่ละทีมที่สามารถมีได้เพียง 2-3 คน และกฏความปลอดภัยที่บังคับให้นักขับแต่ละใช้เวลาหวดได้เพียง 45 นาที เท่านั้น
บรรยากาศบริเวณ Pit นั้นเต็มไปด้วยความลุ้นระทึกของทีมแข่ง และนักแข่งที่ประจำการอยู่ในจำนวนรถฝูงใหญ่ ที่รวมเอาทั้งรุ่น Division 1 และ Division 2 เข้าไว้ด้วยกัน โดยตำแหน่งโพล โพสิชั่นของการแข่งขันยกนี้เป็นรถทีมหมายเลข 2 ที่ทำเวลาควอลิฟายด์เอาไว้ที่ 2:02.335 นาที ซึ่งจะครองตำแหน่งจ่าฝูงเอาไว้ได้หรือไม่ เมื่อปล่อย Rolling Start นั้น คือสิ่งที่ต้องลุ้นกันหลังจากธงเขียวโบกสะบัดเป็นสัญญาณเริ่มต้นมันส์ และความอึด
Toyota Bangsaen Endurance
ผ่านไปได้เพียงไม่ถึง 10 นาทีของชั่วโมงแรก รถทีมหมายเลข 72 คือ คันแรกที่วนกลับเข้าพิท ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ท่าทางนักแข่งของทีมหมายเลข 72 คงต้องรับบทหนัก เพราะ อ่ำ-อัมรินทร์ 1 ใน 3 นักแข่งบาดเจ็บลงแข่งไม่ไหว ส่วนความเคลื่อนหวในการแข่งขันนั้นดูเหมือนรถทีมหมายเลข 55 น่าจะมีปัญหา เพราะเครื่องดับกลางอากาศ แต่ก็ยังแก้ไขจนกลับมาวิ่งต่อได้ ในขณะที่รถทีมหมายเลข 25 นั้นก็ไม่รู้ว่าพลาดหรือตั้งใจ เพราะขวิดไฟล่อนตรง Chicane ไปถึง 2 ครั้ง
และหลังจากที่การแข่งขันเริ่มต้นไปได้ไม่ถึง 20 นาที รถคันแรกที่ต้องจบการแข่งขันลงก็คือรถทีมหมายเลข 27 จาก Division 2 ที่มีปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้ ทางด้านหัวแถวนั้นรถทีมหมายเลข 2 ที่รั้งตำแหน่งจ่าฝูงมาโดยตลอดก็เสียท่าซะแล้ว เพราะรถจากทีมหมายเลข 45 หวดทำเวลาได้เร็วกว่าขึ้นมาเป็น 2:04.320 นาที ทำให้รถทีมหมายเลข 2 ยอมไม่ได้ยัดเข้าไปเต็มสปีดทำเวลาเร็วขึ้นเป็น 2:03.590 นาที กลับขึ้นรั้งตำแหน่งจ่าฝูงบนตารางอีกครั้ง
ช่วงเกือบปลายชั่วโมงแรกเกมส์การแข่งขันเริ่มดุเดือดขึ้น สังเกตได้จากรถแข่งหลายๆ คัน ที่หลุดบ้าง หมุนบ้าง กระแทกกันบ้าง
เกี่ยวกันบ้าง ตามประสาคนวัยแรง แล้วก็มีรถที่ต้องออกจากการแข่งขันเพิ่มเติมตามกันไป คือ ทีมหมายเลข 1, หมายเลข 55 และหมายเลข 33
ส่วนทีมหมายเลข 99 นั้นเสียหลักหัวปักเข้ากำแพงจนหม้อน้ำแตก ต้องลากสังขารเข้าพิทไปซ่อมทันที แต่ท้ายที่สุดทีมช่างก็ยากจะเยียวยา
เลยต้องถอนตัวออกไปอีกหนึ่งคัน
Toyota Bangsaen Endurance

2nd Hours … Endurance Race

เข้าสู่ชั่วโมงที่ 2 เซอร์ไพรส์เกิดขึ้นกับรถทีมหมายเลข 1 ที่คิดว่าพัง แต่นักแข่งอาศัยความสามารถ และดวงแบบสุดฤทธิ์ ลงมือซ่อมเองจนสามารถกลับมาเข้าแข่งขันต่อได้ ส่วนรถในสนามลักษณ์เหมือนความล้า และความเหนื่อยเริ่มสะสมมากขึ้น เพราะหลายๆ คันเหมือนแรงตกลง การเข้าพิทเริ่มมีให้เห็นบ่อยขึ้น ทั้งเพื่อเซอร์วิส และเพื่อเปลี่ยนตัวนักขับ พร้อมกับการพยายามรักษาตำแหน่ง และเวลาเอาไว้อย่างสุดชีวิต
ครึ่งทางของชั่วโมงที่ 2 รถจากทีมหมายเลข 59 ทรงไม่ค่อยดี วิ่งมาแผ่วๆ จนมาจอดเสียแถวๆ วงเวียน ซ่อมไป ซ่อมมา ก็พอไหวพยายามไหลๆ มาเข้าพิทจนสำเร็จ ด้านหัวแถวรถทีมหมายเลข 2 ยังคงตั้งหน้า ตั้งตานำแบบทิ้งห่างด้วยจำนวนรอบที่นำคันอื่นราว 1-2 รอบ ส่วนอันดับ 2 ในชั่วโมงแรกคือรถทีมหมายเลข 45 นั้นคาดว่ามีปัญหาบางอย่างทำให้ร่วงลงไปหลายอันดับ จนทีมรถหมายเลข 14 ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 2, ทีมรถหมายเลข 38 อยู่ในอันดับ 3 และทีมรถหมายเลข 47 อยู่ในอันดับ 4 แต่ในช่วงเกือบท้ายชั่วโมงที่ 2 รถหมายเลข 14 อันดับที่ 2 เข้าพิทไป
ทำให้อันดับมีการขยับขึ้น รวมถึงหมายเลข 45 ที่พยายามไล่ขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ส่วนหมายเลข 14 นั้นออกจากพิทมาในอันดับที่ 5
2nd Hours … Endurance Race

3rd Hours … Endurance Race

ชั่วโมงที่ 3 ของการแข่งอึด รถแข่งแต่ละคันเริ่มมาถึงจุดอิ่มตัว การปะทะกันของรถแข่งลดลง และหันมาสนใจกับการรักษาอันดับ และความเร็ว มากขึ้นในส่วนของหัวแถว ส่วนปลายแถวนั้นมีบ้างที่ยังเกาะกลุ่มเป็นฝูงใหญ่ สลับอันดับกันขึ้นลง ตัดกลับมาที่หัวแถวอีกครั้งกลุ่มนำเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็น โดยหมายเลข 38 ขยับขึ้นมาเป็นจ่าฝูงบนตารางแทน ส่วนหมายเลข 2 แวะเข้าพิท ทำให้หมายเลข 47 ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ตามมาด้วยหมายเลข 45 อันดับ 3, หมายเลข 2 ตามมาเป็นอันดับ 4 ส่วนรถที่ต้องออกจากการแข่งขันไปอีกรายคือรถหมายเลข 77 ที่หวดซะจนน้ำมันหมดคาแทรค เลยต้องออกจากการแข่งขันไปอีกราย เพราะการเติมน้ำมันรถต้องกระทำที่หน้าพิท โดยทีมเซอร์วิสที่ต้องสวมชุดกันไฟเท่านั้น
ใกล้ 30 นาทีแรกของชั่วโมงที่ 3 รถหมายเลข 14 ที่อยู่ในอันดับ 5 ก็ใช้ความสามารถไล่กวดขึ้นมาอย่างเต็มที่ จนขึ้นมาเป็นอันดับที่ 4 ได้สำเร็จ แถมด้วยการจบการแข่งขันของรถหมายเลข 65 ที่ซัดจนพังคาเท้าไปอีกราย ตามมาด้วยรถหมายเลข 41 ที่อ่อนแรงล้าเกินจะเลี้ยวเลยพุ่งเข้ากองยางเข้าไปเต็มๆ จนออกจากการแข่งขันไปเช่นกัน
ในขณะที่หัวแถวซึ่งครอบครองโดยหมายเลข 38 นั้น ถูกรถหมายเลข 45 และหมายเลข 47 สอยหล่นมาอยู่ในอันดับ 3 แต่โชคไม่ดีที่รถหมายเลข 45 เพิ่งจะรับตำแหน่งจ่าฝูงไปหมาดๆ ก็เกิดพลาดท่าหลุดเข้าแปะกำแพง ขวางอยู่ในแทรคซึ่งอาจจะมีอันตราย ทำให้ธงเหลืองพร้อมป้าย SC ปลิวว่อนทั่วสนาม รถ Safety Car ต้องออกนำขบวนเรียงตามลำดับ โดยมีรถหมายเลข 47 กลายเป็นผู้นำไปในทันที

Last Hours … Endurance Race

รถ Safety Car ออกนำถึง 4 รอบสนามเพื่อเคลียร์สถานการณ์ ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างชั่วโมงที่ 3 และ 4 แล้วมาปล่อยสตาร์ทอีกครั้งในรอบที่ 5 ซึ่งถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่รถแข่งแต่ละคันจะร่นระยะ เหมือนกันการออกสตาร์ทครั้งแรก และหลังจากผ่านไปไม่กี่รอบสนาม รถหมายเลข 47 ที่เพิ่งครองตำแหน่งจ่าฝูงก็จำใจต้องเข้าพิท เลยโดนรถหมายเลข 38 สอยเอาตำแหน่งผู้นำไปครอง อีกทั้งจำนวนรอบสนามในชั่วโมงสุดท้ายนี้ก็เดินทางมาเกือบจะถึง 100 รอบแล้วด้วยเช่นกัน
ส่วนอันดับหัวแถวในชั่วโมงสุดท้ายของการแข่ง อันดับ 1 เป็นหมายเลข 38, อันดับ 2 หมายเลข 47, อันดับ 3 หมายเลข 2, อันดับ 4 หมายเลข 9 และอันดับ 5 หมายเลข 54 แต่คู่ที่สูสี และน่าลุ้นที่สุดคืออันดับที่ 1 และ 2 ซึ่งไล่กันมาอย่างดุเดือดด้วยจำนวนรอบที่เท่ากัน แต่น่าจะไล่กับมาได้ยากไม่น้อย เพราะอันดับ 1 ห่างจากอันดับ 2 กว่า 30-40 วินาทีเลยทีเดียว ส่วนรถที่ต้องจบการแข่งขันไปในชั่วโมงนี้อีกคันก็คือ
รถหมายเลข 6
10 นาที สุดท้ายของการแข่งขันมีชีวตชีวามากขึ้น เพราะหลายทีมเข้าพิทไปเปลี่ยนนักแข่งสภาพ "สดๆ" ลงมาวิ่ง เพื่อเร่งทำเวลา ทำให้ทั้งเสียงเครื่องยนต์ และเสียงยางร้องกันระงมทั่วสนาม
นาทีสุดท้ายของการแข่งขันผ่านไปครบสมบูรณ์ถ้วนๆ 4 ชั่วโมงเต็ม รถคันแรกที่รับธงตาหมากรุกนั้นเป็นไปตามคาดหมาย คือ หมายเลข 38 ที่ประกอบด้วยนักแข่ง 3 คน คือ Iguchi และ Oshima จับมือกับ ต้น-มานัต กุละปาลานนท์ ทำรอบไปทั้งหมด 106 รอบสนาม ทำเวลาดีสุด 2:04.763 นาที ในรอบที่ 33
ส่วนอันดับ 2 เป็นรถหมายเลข 47 ที่กัดฟันสู้กันเพียง 2 นักแข่ง คือ พฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ และ ชาริยะ ทำรอบได้ทั้งหมด 106 รอบเท่ากัน มีเวลาดีสุด 2:07.294 นาที ในรอบที่ 84
และอันดับที่ 3 เป็นรถหมายเลข 2 กับนักแข่ง 3 คน คือ Umars, บวริสร์ สวาวสุ และบูม-กันตธีร์ กุศิริ ทำรอบได้ 106 รอบ ทำเวลาดีสุด 2:03.243 นาที ในรอบที่ 99
(ติดตามผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการได้ใน www.supercarthailand.com และ www.BANGSAENgrandprix.net)

21/12/55 …The Qualify & Race Begin


พักยกความมันส์จากศึกทรหด 4 ชั่วโมงรวด มาชมการจับเวลารอบคัดเลือกของรายการ Lotus Cup Thailand ที่จัดกันแบบเบาๆ เอาพองาม ท่ามกลางบรรยากาศสวยๆ ของชายหาดบางแสน โดยผู้ที่ทำเวลาได้ดีที่สุดก็ยังคงเป็นเจ้าเดิม คือ แจ๊ค แลมวาร์ด หมายเลข 28 จัดเต็มด้วยเวลา 2:04.799 นาที พร้อมเหตุให้ระลึกเล็กน้อยจากรถหมายเลข 2 ที่หลุดแทรคเข้าไปซัดกำแพง
  ต่อเนื่องด้วยคิวจับเวลาของรุ่น TCSA ที่อัดแน่นไปด้วยฝูง VTEC เสียงหวานๆ และมีหนึ่งเดียวเป็นเสียงแน่นๆ จาก BMW E90 จากนักแข่งไทยคนเดียวกับ ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 9 แต่การแข่งขันที่คิดว่าจะจบไปอย่างสบายกลัมีเหตุให้ระทึกใจจากรถหมายเลข 81 ที่สอยกำแพงเข้าไปเต็มลำจนหน้ายับ แต่ก็ยังประคองขับได้จนจบการหมดเวลา ส่วนผลโพล โพสิชั่นก็เป็นของ รถหมายเลข 91 CHEN-jun-san กับเวลาดีที่สุด 1:52.855 นาที  

Super 1500 … Round 7       

เปิดเกมส์เดือดของจริงตัดสินแชมป์สนาม 7 รุ่น Super 1500 จำนวน 30 กว่าลำ โดยมี Chen Jian Hong หมายเลข 58 ประจำตำแน่งหัวแถวบนกริดสตาร์ท พร้อมตัวเต็งที่ไม่ควรประมาททั้ง อานนท์ รอดประเสริฐ หมายเลข 18 กริดที่ 2 และวศิน ศรีตรัย หมายเลข 19 ในกริดที่ 3
Super 1500 … Round 7
รถแข่งทั้งหมดพุ่งออกไปทันทีหลังจากที่สัญญาณไฟสตาร์ทดับลง และโค้งซ้ายแรกขึ้นเขาก็เกิดเรื่องขึ้นจนได้ เพราะรถทั้งฝูงอัดเข้าไปพร้อมกัน ทำให้ อานนท์ รอดประเสริฐ หมายเลข 18 โดนอัดจนกันชนหลุด แถมเลยจุดเลี้ยวจนต้องกลับรถมาใหม่ หลังจากเหตุชุลมุนผ่านไป หมายเลข 18 กลับไปแข่งต่อในอันดับสุดท้าย
Super 1500 … Round 7
ส่วนหัวแถวนั้นยังคงเป็นหมายเลข 58 Chen Jian Hong แต่โดนกดดันด้วย วศิน ศรีตรัย หมายเลข 19 ในอันดับที่ 2 อย่างหนัก ในขณะที่การแข่งขันนั้นก็เป็นไปอย่างดุเดือด จังหวะแซงแบบหวาดเสียวมีให้ได้ลุ้นกันตลอด และผ่านไปเพียง 2 รอบสนามรถ Safety Car ก็ต้องออกทำงาน เพราะรถหมายเลข 46 รถมีปัญหาจนมีคราบน้ำมันรั่วไหลลงแทรค นอกจากรถหมายเลข 46 แล้ว พอเคลียร์น้ำมันจากหมายเลข 46 เสร็จ รถหมายเลข 23 ก็ดันมีน้ำมันรั่วไหลลงบนแทรค จนกรรมการต้องมอบธงดำให้เป็นรางวัลอีกคัน ส่วนคราบน้ำมันในรุ่นนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เรียกได้ว่ารั่วไหลไปเกือบจะรอบสนามเลยทีเดียว
4 รอบสนามที่มี Safety Car นำนั้นเป็นเหมือนโอกาสครั้งใหญ่ให้นักแข่งทำผลงานใหม่อีกครั้ง ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการเปลี่ยนตำแหน่งของจ่าฝูงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน หลังจากการสตาร์ทเริ่มต้นขึ้นใหม่อีกครั้ง กับปลายทางที่เหลืออีกเพียงไม่กี่รอบสนาม จ่าฝูงหมายเลข 58 Chen Jian Hong ก็ยังคงนำเหมือนเดิม แต่อันดับ 2 วศิน ศรีตรัย หมายเลข 19 ยังพยายามไล่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ทันการ
และธงตาหมากรุกก็เป็นของรถหมายเลข 58 Chen Jian Hong ตามคาดหมาย ส่วนอันดับ 2 เป็นของ วศิน ศรีตรัย หมายเลข 19 และอันดับ 3 เป็นของ ชนินชา ปัญญารุ่งเจริญ หมายเลข 33

Japan Retro & Euro Classic

ลงสนามสร้างสีสันกันทันทีหลังจากแทรคพร้อมรบ สุดทางตรงโค้งซ้ายเดิมมีลุ้นอีกแล้ว แต่รอบนี้ไม่หนักหนา แค่สะกิดกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็มีรถเสียจนต้องออกจากากรแข่งขันไปก่อน 1 คัน ยังไม่ทันจะครบรอบ 2 ธงแดงต้องโบกสะบัดทันที เพราะรถหมายเลข 66 ซัดเต็มข้อ ทิ่มรถหมายเลข 4 หมุน ส่วนรถมหายเลข 66 ถึงกับตีลังกาหงายท้องกันเลยทีเดียว ส่วนจ่าฝูงบนกริดสตาร์ทที่เป็นของหมายเลข 26 Frank Teeuwen ก็เปลี่ยมมือไปในช่วงชุมมุนที่เกิดขึ้น โดยหมายเลข 17 สุเมธ อุตรวณิช ขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทน
หลังจากเคีลยร์ความวุ่นวายจบสิ้นบรรดารถแข่งจอมบู๊ก็กลับเข้ากริดสตาร์ทใหม่อีกครั้ง แล้วก็เริ่มต้นอัดกันอย่างเมามันส์ ให้คนดูได้ลุ้นกันในจังหวะแซงแบบเสียวๆ ด้วยลีลาการเบรกที่ว่าลึกแล้ว เจอคันหลังลึกกว่า ปาดในแซงกันหน้าตาเฉย ส่วนผู้นำหมายเลข 17 นั้นซวยสุดๆ เพราะนำมาดีๆ ล้อคู่หน้าไม่สามัคคีกัน จนการแข่งขันไปทันที ส่วนหมายเลข 1 เลี้ยวไม่เข้าในโค้ง Tตัน ปักเข้าไปในกองยาง ทำให้รถคันหลังที่จากมาเบรกตัวโก่งมีกระแทกกันบ้างเพราะสุดวิสัย ส่วนหมายเลข 1 ตัวก่อเหตุนั้นต้องออกจากการแข่งขันไปอีกคัน ในขณะที่หัวแถวนั้นเปลี่ยนมือมาเป็นเจ้าเก่า รถหมายเลข 69 สมบุญ ทับทิม ที่นำแบบหายห่วง แล้วก็คว้าธงตาหมากรุกไปตามคาดหมาย
Japan Retro & Euro Classic

Racing Truck

รุ่นนี้นัวกันอุตลุดตั้งแต่ออกสตาร์ท ลีลาการบู๊ล้างผลาญไม่เป็นรองใคร เพราะขนาดแค่ออกสตาร์ททางตรงยังเบียดกันจนกระจกมองข้างกระจาย แบบต่อหน้าต่อ หลานคันเบียดกันจนต้องออกจากการแข่งขันไปกลางทาง ในขณะที่หัวแถวยังเป็นหน้าที่ของรถหมายเลข 99 วรวุฒิ สุธรรมพงษ์ ส่วนกลุ่มกลางขบวนนั้นเรียกว่าซัดกันเละเลยทีเดียว ขนาดมีรถเสียหลักหมุนขวางแทรคในจุด T ตัน รถด้านหลังยังทั้งเบียด ทั้งยัดแทรกขึ้นมาอย่างสะใจ และท้ายที่สุดรถหมายเลข 19 บัญญัติ ใจยง ก็ทะยานขึ้นมานำเป็นจ่าฝูง และรับธงตาหมากรุกไปอย่างสะใจ

22/12/55 …Let The Reace Begin



HK Mini       

เวลาตามตารางราว 08.25 น. จุดประกายความมันส์ให้งาน บางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล 2012 ยกหน้าที่ให้รุ่น HK Mini ลงแข่งเปิดสนาม จัดเต็ม ทั้งเสียหลักจนหมุน ทั้งวิ่งช้าจนเกือบจะโดนรถหลังสอย มีการกระแทก มีการชนท้ายให้เห็นกันตลอดการแข่งขันพาให้ผู้ชมทั่วสนามสนุกเร้าใจไปตามๆ กัน ปิดท้ายด้วยชัยชนะของรถหมายเลข 36 Chan Pui Lam ที่รับธงตาหมากรุกเป็นคันแรก

TCSA

V-TEC ฝูงใหญ่ กระหน่ำคันเร่งกันแบบไม่ยั้ง โดยมี ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 91 โชว์ฟอร์มเจ้าบ้านได้เฉียบขาด ออกสตาร์ทจากท้ายขบวน แต่ดันตัวเองขึ้นเป็นอันดับ 3 ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่รอบสนาม ในขณะที่การแข่งขันดำเนินไปเกินครึ่งทาง ส่วนจ่าฝูงรถหมายเลข 91 Chen jun-san และอันดับ 2 Hideharu KUROKI ก็พยายามปิดไลน์กันไว้อย่างเหนียวแน่น
แต่แล้วก็ไม่รอดการไต่อันดับขึ้นเป็นที่ 2 ของ ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 91 ที่แรงจนอันดับที่ 2 ต้องเปิดทางให้แซงขึ้นไปอย่างง่ายดาย ในช่วงปลายการแข่งขัน ติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 9 สร้างไฮไลต์ด้วยลีลาการกัดไม่ปล่อย และในที่สุดก็แซงขึ้นมาเป็นจ่าฝูงได้สำเร็จ แต่ที่เด็ดกว่านั้นคือ หมายเลข 91 Chen jun-san กระแทกคันเร่งสวนขึ้นมาทวงตำแหน่งจ่าฝูงในทันที แล้วก็รับธงตาหมากรุกไปเช่นกัน ส่วนติณฑ์ ศรีตรัย หมายเลข 9 เศร้าใจ เพราะชนไพล่อนจนเสียหลักไปชนกำแพง แถมเซมากระแทกรจ่าฝูง จนรถพัง เลยต้องลากสังขารเข้าไปพิทไปในรอบสุดท้าย